ดอลล่าร์แข็งค่า เมื่อเทียบกับคู่เงิน g7
สัปดาห์นี้เห็นได้ว่าดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินของกลุ่ม G7 เนื่องจากข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้นมาเมื่อเร็วๆ นี้ เศรษฐกิจที่แข็งแกร่งนี้ยังทำให้นักลงทุนเชื่อว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยพื้นฐานในเดือนกรกฎาคมนี้อาจลงเพียง 25 จุดเพื่อเป็นหลักประกัน ในขณะที่การประชุมเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของ FOMC ที่จะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีหน้า การเคลื่อนไหวของราคาตลาดแสดงให้เห็นว่านักลงทุนยังคงมั่นใจในการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐ ต่อมาในวันนี้สหรัฐจะประกาศตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 2 ล่วงหน้า ซึ่งคาดว่าตัวเลขน่าจะชะลอตัวลง เนื่องจากผลประกอบการในไตรมาสที่ 1 ได้รับแรงหนุนจากการสะสมสินค้าคงคลัง แต่ในไตรมาสที่ 2 สถานการณ์ดูเหมือนว่าจะกลับกัน นอกเหนือจากสินค้าคงคลัง อุปสงค์ในประเทศมีความแข็งแกร่งเนื่องจากการเติบโตของการบริโภคเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าและแรงหนุนจากการใช้จ่ายของรัฐบาล อย่างไรก็ตามอิทธิพลของ GDP อาจอยู่ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ และถึงแม้ตัวเลขจะผิดจากการคาดการณ์ไปก็ตาม Fed ก็จะไม่เปลี่ยนแปลงจุดยืนจากตัวเลขเหล่านั้น สำหรับการซื้อขายในสัปดาห์หน้าดอลลาร์อาจยังคงแข็งค่าขึ้นต่อไป แต่ส่วน JPY เราขอแนะนำให้ติดตามข่าวการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนอย่างใกล้ชิด ซึ่งหากยังไม่มีข่าวที่ดีขึ้น สกุลเงินที่ปลอดภัยก็จะยังคงได้รับแรงหนุนต่อไป
AUD และ NZD ยังคงอ่อนค่าตลอดทั้งสัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนต่างคาดการณ์ว่าธนาคารกลางของพวกเขาจะเดินหน้าทำมาตราการ QE ในส่วนของตัวเลขดัชนี PMI ของออสเตรเลียแสดงให้เห็นว่าดัชนี PMI ภาคการผลิตลดลงจาก 52 เหลือ 51.4 และภาคบริการปรับเพิ่มขึ้นจาก 51.9 สู่ 52.6 ซึ่งเป็นแรงสนับสนุนให้กับท่าทีของธนาคารกลางออสเตรเลีย ในขณะที่นายโลวได้พูดถึงประเด็นว่า “มีความเป็นไปได้ที่จะมีการขยายระยะเวลาอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำออกไปอีก” นอกจากนี้ ยังมีบางข้อความของเขาได้ตอกย้ำถึงสภาวะเศรษฐกิจที่จะมีอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวคงอยู่เป็นระยะเวลาที่ยาวนาน กดดันให้ AUD และ NZD อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของ CAD นั้น ยังคงเคลื่อนไหวไปพร้อมกับราคาน้ำมันที่ผันผวนในสัปดาห์นี้ และในสัปดาห์ถัดไป การประกาศตัวเลขดัชนี CPI ไตรมาสที่ 2 จะเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาการประชุมของ RBA ในเดือนสิงหาคม เช่นเดียวกับการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนซึ่งจะขัดแย้งกับการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐพอดี ทำให้เป็นสัปดาห์ที่น่าสนใจอย่างมากสำหรับนักลงทุน ในสัปดาห์หน้าตัวแทนการค้าของสหรัฐอเมริกา นายโรเบิร์ต ไลท์ไฮเซอร์และเจ้าหน้าที่อาวุโสของสหรัฐอเมริกา มีกำหนดการเดินทางไปยังประเทศจีนเพื่อเจรจาการค้าระดับสูงครั้งแรกแบบตัวต่อตัว นับตั้งแต่การเจรจาการค้าที่ล้มเหลวในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามความเสี่ยงในการเจรจาครั้งนี้คือ การบรรลุข้อตกลงขั้นสุดท้ายเพื่อยุติสงครามการค้าอาจจำเป็นจะต้องใช้เวลานานและอาจจะไม่เกิดขึ้นด้วยซ้ำ ทั้งนี้ FOMC จะเปิดเผยการตัดสินใจของพวกเขาในสัปดาห์หน้า ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดแนวโน้มความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นเช่นกัน
EUR เริ่มต้นสัปดาห์นี้จากระดับต่ำ เนื่องจากตัวเลขดัชนี PMI ที่น่าผิดหวังและการคาดการณ์เกี่ยวกับการตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรปทำให้สกุลเงินมีการปรับตัวอ่อนค่าลง ทั้งนี้ Bloomberg ระบุว่าตลาดเงินได้กำหนดโอกาส 35% สำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเมื่อวานนี้ EUR ปรับตัวสูงขึ้นหลังจากธนาคารกลางยุโรปประกาศการตัดสินใจที่จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 0% ก่อนที่จะกลับมาดูท่าทีของนายมาริโอ ดรากี ซึ่งบ่งชี้ว่า “ภาคการผลิตนั้นจะแย่ลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศที่เน้นความสำคัญในส่วนของภาคการผลิตนั้นจะยิ่งแย่ลงไปอย่างต่อเนื่อง” ในสัปดาห์หน้า EUR อาจจะตกอยู่ภายใต้แรงกดดันขาขึ้น เนื่องจากนักลงทุนต่างจับตาดูการประกาศตัวเลขความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ดัชนี CPI อัตราการว่างงานและตัวเลข GDP ในส่วนของปอนด์ยังคงทรงตัวต่อเนื่องในสัปดาห์นี้ เนื่องจากนายบอริส จอห์นสันได้เข้ารับตำแหน่งก่อนที่เขาจะแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีของเขากับ Brexiteers (ผู้สนับสนุนการแยกตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป) ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับ Brexit โดยไม่มีข้อตกลงและการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งแนวโน้มของสกุลเงินยังคงมีทิศทางขาลงจากข้อมูลที่ถูกเปิดเผยออกมาเมื่อเข้าใกล้กำหนดเส้นตายของ Brexit ในขณะที่นายจอห์นสันเคยให้คำมั่นว่าจะทำการ Brexit ภายในวันที่ 31 ตุลาคม โดยมีหรือไม่มีข้อตกลงและเขาจะต้องจัดการกับปัญหาเดียวกันกับที่นางเมย์ได้เคยเผชิญในการหยุดชะงักของ Brexit ในด้านของนักลงทุนจะต้องจับตาดูตัวเลขความเชื่อมั่นของผู้บริโภค GFK อย่างใกล้ชิดและการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางอังกฤษ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดแนวโน้มขาลงได้
คำเตือนความเสี่ยงทั่วไป: การเผยแพร่บทวิเคราะห์นี้เป็นการสื่อสารการตลาดและไม่ถือเป็นคำแนะนำการลงทุนหรือผลวิจัยใดๆ เนื้อหาที่นำเสนอเป็นมุมมองทั่วไปของผู้เชี่ยวชาญของเรา โดยมิได้พิจารณาสถานการณ์เฉพาะของผู้อ่าน แต่ละคน ไม่ว่าประสบการณ์ด้านการลงทุนหรือสถานะทางการเงิน บทวิเคราะห์นี้มิได้จัดทำขึ้นโดยอิงการศึกษาเพื่อการลงทุนรายบุคคลตามข้อกำหนดของกฎหมาย ก่อนการเผยแพร่ข้อมูลนี้ Exness มิได้ถูกจำกัดด้วยข้อห้ามใดๆ ในการซื้อขาย ผู้อ่านต้องคำนึงว่าอาจเกิดการขาดทุนขึ้นได้ Exness ไม่รับผิดชอบหากเกิดการขาดทุนหรือความเสียหายใดๆ จากการใช้ข้อมูลหรือบทวิเคราะห์นี้
ที่มา exness.com