เงินบาท: ปิด 30.56 แข็งค่าต่อเนื่องจากช่วงเช้า นลท.จับตาการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ-สงครามการค้า-Brexit

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ที่ระดับ 30.56 บาท/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่
เปิดตลาดเช้าที่ระดับ 30.61/62 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวระหว่าง 30.56-30.63 บาท/ดอลลาร์

 

 

“ดอลลาร์อ่อนค่าเทียบทุกสกุลหลังตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนออกมาแย่กว่าคาด ขณะที่นักลงทุนรอดูตัวเลขเศรษฐกิจที่
สำคัญของสหรัฐฯ ที่จะประกาศออกมาคือ ISM ภาคบริการที่จะประกาศคืนนี้ และการจ้างงานนอกภาคเกษตรคืนพรุ่งนี้ นอกจากนี้ยังต้อง
ติดตามปัจจัยเรื่องสงครามการค้าและ Brexit” นักบริหารเงินระบุ
นักบริหารเงิน กล่าวว่า เบื้องต้นประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทระหว่าง 30.50-30.65 บาท/ดอลลาร์

 

* ปัจจัยสำคัญ
– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 107.18 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ 107.08/12 เยน/ดอลลาร์

– เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0950 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ 1.0961/0963 ดอลลาร์/ยูโร

– ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,610.69 จุด ลดลง 2.95 จุด, -0.18% มูลค่าการซื้อขาย 37,833.41 ล้านบาท

– สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,444.00 ลบ.(SET+MAI)

– นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้หารือถึงแนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาส 4 ของ
ปีนี้ โดยสั่งการให้กระทรวงการคลัง, กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และสถาบันการเงิน
เฉพาะกิจของรัฐ วางแผนกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเน้นให้การท่องเที่ยวเป็นตัวชูโรง รวมถึงเร่งขยายโครงการชิมช้อปใช้ ภาค 2 ให้ครอบ
คลุมไปถึงเศรษฐกิจในระดับชุมชนด้วย

– ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายการกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. ร่วมกับสถาบัน
การเงิน สภาวิชาชีพบัญชีฯ และผู้สอบบัญชี ผลักดันการใช้มาตรฐานการบัญชีสำหรับเครื่องมือทางการเงิน (Thai Financial
Reporting Standard: TFRS 9) เพื่อให้งบการเงินของสถาบันการเงิน สะท้อนความเสี่ยงด้านเครดิตของลูกหนี้ ส่งผลให้การรับรู้
สำรองเร็วขึ้นตามสถานะของลูกหนี้ที่เปลี่ยนแปลงไป และสะท้อนฐานะการเงินที่แท้จริงของสถาบันการเงินอย่างทันการณ์ รวมทั้งสามารถ
เปรียบเทียบได้ในระดับสากล โดย ธปท. เชื่อมั่นว่าสถาบันการเงินมีความพร้อม ทั้งด้านระบบงาน ฐานข้อมูล บุคลากร และกระบวนการ
ปฏิบัติงาน เพื่อรองรับ TFRS 9 ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2563

– สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) ออกแถลงการณ์ว่า รัฐบาลสหรัฐวางแผนที่จะเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหภาพ
ยุโรป (EU) หลายรายการ หลังจากองค์การการค้าโลก (WTO) ลงมติเห็นชอบต่อข้อเรียกร้องของสหรัฐในการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้า
จากยุโรป วงเงิน 7.5 พันล้านดอลลาร์

– ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์กได้แสดงความเห็นว่า แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐยังคงอยู่ในระดับที่น่าพอ
ใจ พร้อมปฏิเสธกระแสความวิตกกังวลในตลาดที่ว่า เศรษฐกิจสหรัฐกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยระบุว่า เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง รวม
ทั้งข้อพิพาทการค้า และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์นั้น เป็นปัจจัยที่ทำให้ความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้น และส่งผลกระทบต่อการลงทุนในภาค
เอกชน ขณะที่การค้าระหว่างประเทศก็ชะลอตัวลงด้วย

– นายกรัฐมนตรีอังกฤษจะเสนอแผนการใหม่สำหรับการถอนอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) ในรัฐสภาอังกฤษใน
วันนี้ โดยมีความเชื่อมั่นว่าเขาจะได้รับการสนับสนุนเพียงพอจากกลุ่มผู้สนับสนุนสหภาพยุโรป (EU) ในการบรรลุข้อตกลงในที่สุด

– ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) เรียกร้องให้มีการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลงทุนในยูโรโซน เพื่อรับ
มือกับความท้าทายของอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง และความเสี่ยงของการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย

No Comments

Post a Comment

Comment
Name
Email
Website

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.