ปัจจัยพื้นฐานที่ควรรู้ ก่อนเทรด Forex

การเทรด forox ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีนั้น นอกจากการดูเรื่องกราฟเทคนิคอล ในโปรแกรม MT4 แล้ว การวิเคราะห์เรื่องปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) ก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อย เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ค่าเงินสกุลต่างๆขึ้นหรือลงได้

การที่เทรดเดอร์ศึกษาเรื่องปัจจัยพื้นฐานไว้บ้าง ก็เป็นข้อได้เปรียบกว่าการดูกราฟเทคนิคเพียงอย่างเดียว

ปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการเทรด Forex มีอะไรบ้าง… ไปดูกันครับ

1. GDP (Gross Domestic Product) ดัชนีชี้วัดผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

ถือเป็นตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดตัวหนึ่ง ที่บ่งบอกถึงมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดในประเทศ ในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น 1เดือน, 1ไตรมาส, ครึ่งปี, 1ปี โดยวัดเฉพาะการผลิตเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์เท่านั้น
การประกาศตัวเลข GDP เป็นตัวชี้วัดหลักของเศรษฐกิจ ก่อนการประกาศ GDP จะมีการคาดการณ์ตัวเลขจากธนาคารกลาง ซึ่งมีผลกระทบต่อค่าเงินที่เกี่ยวข้องอย่างสูง ช่วงนี้ตลาด forex จะมีความผันผวนสูงมาก นักลงทุนที่จะเทรดในคู่เงินที่เกี่ยวข้อง ก็ควรระมัดระวังในการเทรดให้มากขึ้น

 

2. Inflation Rate (อัตราเงินเฟ้อ)

เป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาสินค้า และบริการในปีปัจจุบันเทียบกับปีที่แล้ว หากประเทศไหนมีตัวเลขเงินเฟ้อมาก จะทำให้ส่งผลเสียต่อการลงทุนภายในประเทศ ส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจของประเทศนั้นเริ่มมีปัญหา

แต่ถ้าอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น ก็หมายความว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว ประชาชนมีกำลังจ่ายมากขึ้น ทำให้เกิดความต้องการสินค้าสูงขึ้น ส่งผลทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นแข็งขึ้น

3. Interest Rate (อัตราดอกเบี้ย)

เป็นอัตราดอกเบี้ยที่อ้างอิงจากดอกเบี้ยต่างๆ ภายในประเทศ เช่น ดอกเบี้ยเงินกู้ ดอกเบี้ยเงินฝาก หรือผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตร
ถ้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จะส่งผลให้ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยเงินกู้ หรือผลตอบแทน จากการลงทุนในตราสารหนี้ขยับตัวสูงขึ้น ทำให้เงินสกุลนั้นๆ แข็งค่าขึ้น
ในทางกลับกันการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ก็ส่งผลให้เงินสกุลนั้นๆ อ่อนค่าลง

อัตราดอกเบี้ยเป็นปัจจัยสำคัญที่บอกมูลค่าของเงินสกุลต่างๆ การลงทุนในตลาด Forex จึงควรจะตามข่าวสารและความคิดเห็นที่ออกมาจากธนาคารกลาง ของประเทศที่เพื่อนๆสนใจอยากเทรด

 

4. Trade Balance (ดุลการค้า)

คือการค้าระหว่างประเทศ เกี่ยวกับมูลค่าสินค้านำเข้า ส่งออก โดยหลักๆจะแบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ
– ดุลการค้าเกินดุล คือมูลค่าสินค้าส่งออก มากกว่ามูลค่าสินค้านำเข้า
– ดุลการค้าขาดดุล คือ มูลค่าสินค้าส่งออก น้อยกว่ามูลค่าสินค้านำเข้า
– ดุลการค้าสมดุล มูลค่าสินค้าส่งออกและสินค้านำเข้า พอๆกัน
โดยตัวเลข Trade Balance เมื่อนำมาวิเคราะห์ควบคู่กับปัจจัยทางเทคนิค จะทำให้เห็นแนวโน้มที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

 

5. Unemployment Rate (อัตราการว่างงาน)

เป็นอัตราส่วนของผู้ว่างงาน นับเฉพาะประชากรที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป อัตราการว่างงานที่สูง ก็ย่อมส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ส่งผลกระทบต่อ GDP ของประเทศ ส่งผลให้ค่าเงินประเทศนั้นอ่อนค่าลง
Nonfarm Payrolls เป็นตัวเลขสำคัญที่เกี่ยวกับจำนวนแรงงาน และค่าแรงของแรงงานนอกภาคเกษตร โดยไม่รวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐ และองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานที่เกี่ยวกับการผลิตสินค้าและบริการของสหรัฐฯ ตัวเลขนี้มีผลต่อตลาด forex ค่อนข้างสูง ตัวเลขจะออกทุกวันศุกร์แรกของเดือน ใครที่เทรดในช่วงนี้ต้องระมัดระวังให้มาก

6. CPI – Consumers Price Index (ดัชนีราคาผู้บริโภค)

เป็นเครื่องมือทางสถิติที่ใช้ชี้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาขายปลีกของสินค้า และบริการ
โดยประโยชน์ของ CPI คือ เป็นตัววัดค่าครองชีพของประชาชน วัดภาวะเงินเฟ้อ และยังเป็นมาตรฐานในการปรับค่าจ้าง เงินเดือน และเงินช่วยเหลือสวัสดิการสังคม
นอกจากนี้ยังใช้คำนวณค่าเงินที่แท้จริง ของประชาชนในประเทศ
ในตลาด forex ตัวเลข CPI รายเดือน จะบอกภาวะเงินเฟ้อโดยตรง ถ้าอัตราเงินเฟ้อ มากกว่าอัตราดอกเบี้ย จะทำให้ค่าเงินสกุลนั้นอ่อนค่าลง

 

7. Retail Sale (ยอดค้าปลีก)

คือตัวเลขการขายสินค้า หรือบริการโดยตรงแก่ผู้บริโภคคนสุดท้าย เพื่อการใช้ส่วนตัว ไม่ใช่เพื่อธุรกิจ ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกจะเป็นผู้เก็บรักษาสินค้า กระจายสินค้าออกมาขาย ส่งเสริมการขายให้ผู้ผลิต ใกล้ชิดกับผู้บริโภค และให้ข้อมูลทั้งกับผู้ผลิตและผู้บริโภค ซึ่งการรวบรวมและคัดเลือกสินค้าก็เพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้บริโภคยิ่งนัก

ตัวเลขค้าปลีก เป็นตัวชี้วัด การใช้จ่ายของผู้บริโภค การจ้างงาน และการผลิต

 

8. CCI – Consumer confidence index (ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค)

เป็นดัชนีที่จัดทำโดยกระทรวงพาณิชย์ จากการสอบถามความรู้สึกของผู้บริโภค ต่อสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน และคาดการณ์ในอนาคตอีก 3-6 เดือน สามารถใช้คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคตได้

โดยมีตัวเลขตั้งแต่ 0 ถึง 100 หากค่าดัชนีสูงกว่า 50 แสดงว่ามีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของประเทศ หากค่าดัชนีต่ำกว่า 50 แสดงว่าไม่เชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของประเทศ

เมื่อเพื่อนๆ มีความรู้ด้านพื้นฐานเหล่านี้ ควบคู่กับการใช้เทคนิคอล ก็จะช่วยให้เพื่อนๆเทรดได้ผลลัพธ์ดีขึ้นไปอีก

No Comments

Post a Comment

Comment
Name
Email
Website

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.