สารพัดประโยชน์จาก อินดิเคเตอร์ ATR
สัมนาออนไลน์การใช้อินดิเคเตอร์ ATR (average true range)
ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2018 – เวลา 2 ทุ่มตรง
ในสัมมนาออนไลน์ครั้งนี้จากโบรกเกอร์ XM นักลงทุนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับอินดิเคเตอร์สารพัดประโยชน์ ATR (Average True Range) ว่ามันคืออะไร ใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง ความหมายของมันที่แอบแฝงอยู่ ที่หลายคนอาจยังไม่รู้ และเราจะสามารถนำมันมาใช้ในการเทรด Forex ได้อย่างไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการตั้งคำสั่ง และการตัดสินใจจะเข้าหรือออกจากการเทรด
สมัครเปิดบัญชีเทรด XM
ATR คืออะไร มีความจำเป็นอย่างไร
อินดิเคเตอร์ ATR หรือ Average True Range เป็นอินดิเคเตอร์ทางเทคนิคตัวหนึ่งในการเทรด Forex ที่หลายคนไม่เคยใช้ เป็นตัวที่ใช้วัดระดับความผันผวนของราคา แตกต่างจากอินดิเคเตอร์ทางเทคนิคตัวอื่น ที่ส่วนใหญ่จะใช้เป็นตัวหาแนวโน้มราคา เช่น Moving Average , MACD , RSI , Stochastic หรือระดับราคาการซื้อขายสุดโต่ง Overbought หรือ Oversold นั่นคือ ATR ไม่สามารถใช้ในการบอกทิศทางของราคาได้ แต่จะเป็นตัวบอกระดับความผันผวนหรือ Volatility ของตลาด โดยส่วนมากแล้ว ATR มักจะถูกนำไปใช้อ้างอิงร่วมกับอินดิเคเตอร์ที่ใช้บอกแนวโน้มของราคา เพื่อยืนยันแนวโน้มให้ถูกต้องชัดเจนยิ่งขึ้น
ที่มาของค่าเครื่องมือ ATR
ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักกับที่มาหรือวิธีการได้มาของตัวเลข Average True Range หรือ ATR กันก่อน โดย ATR นั้นจะคำนวณมาจาก การนำค่าที่มากที่สุด (Max) ระหว่าง
- l ราคาสูงสุดของวันนี้ – ราคาปิดของวันก่อนหน้า l
- l ราคาปิดของวันก่อนหน้า – ราคาต่ำสุดของวันนี้ l
- l ราคาสูงสุดของวันนี้ – ราคาต่ำสุดของวันนี้ l
* การใส่ Absolute ทำให้ค่าเป็น บวก เสมอ
ของแต่ละวันมาค่าเฉลี่ย โดยปกติมักใช้ค่ามาตรฐานกันที่ 14 วัน หรือ ATR(14) เนื่องจากในบทความฉบับนี้เน้นที่นำไปประยุกต์ใช้ หากนักลงทุนต้องการข้อมูลเกี่ยวกับวิธีคำนวณค่า ATR โดยละเอียด สามารถหาอ่านได้จาก Website การลงทุนทั่วไป
การนำ ATR ไปใช้
การตีความหมายของค่า Average True Range หรือ ATR นั้นสามารถทำได้โดยง่าย ยกตัวอย่างเช่น ทองคำมีค่า ATR(14) ในปัจจุบันเท่ากับ 25 แสดงว่า ค่าความผันผวนโดยเฉลี่ยของราคาทองคำใน 1 วัน เมื่อคำนวนจาก ATR(14) เท่ากับ 25 USD ต่อออนซ์ โดยหากค่า ATR(14) มีค่าเพิ่มขึ้นแปลว่า ตลาดมีความผันผวนเพิ่มมากขึ้น และหากค่า ATR(14) มีค่าลดลงแปลว่า ตลาดมีความผันผวนลดลง